วันพฤหัสบดีที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2554

พระมหากษัตริย์แห่งแผ่นดินไทย

เริ่มต้นไม่ถูกเพราะ..เขียนโดยไม่ได้เตรียมตัว
แต่ด้วยความภาคภูมิใจ ศรัทธาและจงรักภักดีต่อแผ่นดิน ชาติไทยและองค์พระประมุขของประเทศไทย
ขอเริ่มด้วยความเป็นชาติและพระมหากษัตริย์ของประเทศไทย


ใครจะนึกใครจะคิดว่า เราทุกคน ที่เกิดมาบนผืนดินนี้..ตั้งแต่บรรพบุรุษจนถึงวันนี้ผ่านมาเวลาหลายร้อยปี บรรพบุรุษของเรารุ่นแล้วรุ่นเล่า ผ่านการต่อสู้กับการล่าหาเมืองขึ้น ล่าราชอาณาจักรจากเมือง จากประเทศหรือราชอาณาจักรที่ยิ่งใหญ่กว่า โดยการรุกราน ยึดครองด้วยวิธีการต่างๆ ซึ่งแตกต่างกันตามยุคตามสมัย ซึ่งแน่นอนว่าเมือง รัฐ ประเทศเล็กๆที่ด้อยกว่าย่อมพ่ายแพ้และตกเป็นเมืองขึ้น ตกเป็นเมืองประเทศราชของประเทศที่เข้มแข็งกว่า และสำหรับประเทศเล็กๆอย่างเมืองสยาม..แผ่นดินของเรา เป็นเวลากว่า ๔๐๐ กว่าปีหลังจากสมเด็จพระนเรศวรได้ประกาศอิสรภาพ  ณ เมืองแครง แล้วแผ่นดินสยามแม้ยังต้องสู้รบ แม้ยังต้องทำสงครามกับประเทศเพื่อนบ้านอย่างพม่า หรือเขมรอยู่เนืองๆ แม้บางครั้งเรากำลังรบเราอ่อนแอ แต่ด้วยพลังแห่งความศรัทธา และจงรักภักดี แม้ว่าเหลือผู้กล้าเพียงหยิบมือ แต่ด้วยจิตใจที่หาญกล้า หรือแม้แต่ต้องจำยอมตัดแผ่นดินบางส่วนให้กับประเทศฝรั่งเศสเพื่อรักษาแผ่นดินทั้งหมดไว้ ในสมัยรัชกาลที่ ๕ ในราชวงศ์จักรี ในขณะที่เพื่อนบ้านต้องตกเป็นเมืองขึ้นของประเทศตะวันตก แต่ด้วยความอัจฉริยะ เสียสละ ของบรรพบุรุษและพระมหากษัตริย์ไทย ทุกยุคทุกสมัย เราจึงยังยืนหยัดเป็นประเทศเอกราชได้เพียงหนึ่งเดียวในภูมิภาคเอเชีย..ซึ่งทำให้คนไทยได้อยู่กันอย่างร่มเย็นเป็นสุขและเป็นที่ภาคภูมิใจในเกียรติภูมิของตนเองเป็นอย่างยิ่ง


ความหมายคำเรียกพระมหากษัตริย์ของไทย
(ข้อมูลจากความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับพระมหากษัตริย์จาก ฐานข้อมูลการเมืองการปกครอง สถาบันพระปกเกล้า)
หากนับย้อนอดีตประวัติศาสตร์ไทยตั้งแต่สมัยโบราณ คำว่า ”กษัตริย์” หรือนักรบผู้ยิ่งใหญ่ ศึกษาได้จากในสมัยกรุงสุโขทัยมีการปกครองแบบพ่อปกครองลูก จะมีความใกล้ชิดกับประชาชนมาก เช่นในสมัยราชวงศ์พระร่วง กษัตริย์จะมีพระนามขึ้นต้นว่า “พ่อขุน” เรียกว่า พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ พ่อขุนรามคำแหง ในสมัยกรุงศรีอยุธยาได้รับคติพราหมณ์มาจากขอมเรียกว่า เทวราชา หรือ สมมติเทพ หมายถึง พระมหากษัตริย์ทรงเป็นเทพมาอวตารเพื่อปกครองมวลมนุษย์ ทำให้ชนชั้นกษัตริย์มีสิทธิอำนาจมากที่สุดในอาณาจักร และห่างเหินจากชนชั้นประชาชนมาก ในสมัยราชวงศ์อู่ทอง จึงมีพระนามขึ้นต้นว่า “สมเด็จ” เรียกว่า สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง) สมเด็จพระราเมศวร หรือในสมัยรัตนโกสินทร์ แห่งมหาจักรีบรมราชวงศ์ เริ่มด้วยรัชกาลที่ 1 ถึงรัชกาลปัจจุบันคือรัชกาลที่ 9 ซึ่งเป็นการยกย่องเทิดทูลสถาบันองค์พระมหากษัตริย์ จึงมีพระนามขึ้นต้นว่า พระบาทสมเด็จ เช่น พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช (รัชกาลที่ 9 ) 
ดังนั้นคำว่า “พระมหากษัตริย์ของไทย” อาจมีคำเรียกที่แตกต่างกันตามประเพณีนิยม หรือธรรมเนียมที่เคยปฏิบัติสืบต่อกันมา เช่นเรียกว่า พระราชา เจ้ามหาชีวิต เจ้าฟ้า เจ้าแผ่นดิน พ่อเมือง พระเจ้าแผ่นดิน พระเจ้าอยู่หัว หรือในหลวง ฯลฯ และพระมหากษัตริย์เป็นได้ด้วยการสืบสันตติวงศ์ 


และข้อมูลจากราชบัณฑิตยสถาน โดย ศ.ดร.กาญจนา นาคสกุล ได้อธิบายไว้ดังนี้
คำที่ใช้หมายถึงผู้ทรงเป็นประมุขของประเทศมีหลายคำ เช่น พระมหากษัตริย์ พระเจ้าแผ่นดิน พระเจ้าอยู่หัว พระราชา พระราชาธิบดี พระจักรพรรดิ ในหลวง แต่ละคำมีที่ใช้ต่างกัน

1."พระมหากษัตริย์" เป็นคำที่รับมาจากภาษาสันสกฤต มีความหมายว่าผู้ดูแลพื้นที่ทำการเกษตร หรือผู้ปกครองผืนแผ่นดินทั้งหมด คำว่า พระมหากษัตริย์ เป็นคำที่ใช้เรียกผู้ที่ทำหน้าที่หัวหน้าปกครองคนในสังคมให้อยู่ร่วมกันได้อย่างสงบสุข เช่น ประเทศไทยมีการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข พระมหากษัตริย์ทรงเป็นพุทธมามกะ และทรงเป็นอัครศาสนูปถัมภก 

2."พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว" เป็นคำที่ใช้สำหรับกล่าวถึงพระมหากษัตริย์ของไทยองค์ปัจจุบันเท่านั้น เช่น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงปกครองบ้านเมืองด้วยทศพิธราชธรรม ตามวัฒนธรรมไทยแต่โบราณมาเราไม่นิยมออกชื่อผู้ใหญ่ต่อหน้า แต่จะเลี่ยงใช้คำอื่นแทนผู้ที่เราพูดด้วยนั้น 

ดังนั้นเมื่อจะกล่าวถึงพระเจ้าแผ่นดิน เพื่อแสดงความเคารพยกย่องสูงสุด จึงใช้คำว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งแปลว่าเท้าของพระมหากษัตริย์ผู้ทรงเป็นพระเจ้าอยู่บนศีรษะ เป็นสำนวนที่แสดงให้เห็นว่าผู้พูดยกพระเจ้าแผ่นดินขึ้นเทิดทูนไว้สูงสุด โดยขอให้พระบาทของพระองค์ท่านอยู่เหนือศีรษะของตน และเมื่อกล่าวถึงพระองค์ก็ขอใช้คำอ้างถึงเฉพาะพระบาทของพระองค์ท่านเท่านั้น 

3."พระเจ้าแผ่นดิน" เป็นคำภาษาไทย มีความหมายว่าผู้เป็นเจ้าของแผ่นดิน ผู้เป็นใหญ่เหนือทุกคนในแผ่นดิน เป็นคำที่มีน้ำเสียงเป็นทางการน้อยกว่าคำว่าพระมหากษัตริย์ จึงมักใช้ในการกล่าวถึงในเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ พงศาวดาร เรื่องราวของพระเจ้าแผ่นดินต่างชาติ หรือในนิทาน 

เช่น ประเทศไทยใช้หลักอเนกชนนิกรสโมสรสมมติมาใช้ในการตั้งพระเจ้าแผ่นดิน หรือ มางลองปราบดาภิเษกเป็นพระเจ้าแผ่นดินเมืองพม่า พระเจ้ามินดุงดูเหมือนจะเป็นพระเจ้าแผ่นดินซึ่งทรงมีราชธรรมต่างๆ มากที่สุด (ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช, พม่าเสียเมือง) หรือ กาลครั้งหนึ่ง มีพระเจ้าแผ่นดินองค์หนึ่งทรงพระนามว่า… 

4."เจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดิน" เป็นคำลำลองที่ใช้เมื่อกล่าวถึงพระมหากษัตริย์และพระบรมวงศานุวงศ์โดยทั่วไป เป็นการสร้างคำโดยใช้คำที่มีความหมายตรงกันข้ามมาเข้าคู่กัน เมื่อมีคำว่า เจ้าแผ่นดิน จึงนำคำว่า เจ้าฟ้า มาเข้าคู่เป็น เจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดิน เช่น ถึงแม้ประเทศเราจะไม่ได้ปกครองในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ แต่ประชาชนคนไทยก็ยังมีความจงรักภักดีต่อเจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดินอยู่ไม่เสื่อมคลาย หรือ ท่านเป็นเจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดินอย่าให้ท่านต้องทำอะไรที่จะทำให้เสื่อมเสียพระเกียรติยศเป็นอันขาด
http://www.sudipan.net/phpBB2/viewtopic.php?p=20734

(ขอบคุณภาพจากอินเตอร์เนต)

มาถึงยุคสมัยนี้โดยเฉพาะพระมหากษัตริย์ในราชวงศ์จักรีองค์ปัจจุบัน ผู้มีอัจฉริยภาพและพระปรีชาสามารถเป็นที่ประจักษ์ไปทั่วโลก


ตลอด 60 ปีที่ผ่านมา เกิดเหตุการณ์มากมายในประวัติศาสตร์ชาติไทย เป็น 60 ปีที่สังคมไทยต้องเผชิญกับความเปลี่ยนแปลงในทุกด้าน ผ่านร้อนผ่านหนาวกว่าจะมาถึงวันนี้ เป็น 60 ปี ซึ่งพระเจ้าแผ่นดินพระองค์หนึ่ง ได้พระราชทานภูมิคุ้มกันไว้ให้พสกนิกรของพระองค์อย่างมากมาย
นับตั้งแต่ วันที่ทรงมีพระปฐมบรมราชโองการอันศักดิ์สิทธิ์ว่า “เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม” ตราบจนวันนี้ เป็นที่ประจักษ์ชัดแก่ข้าแผ่นดินทุกชีวิตว่า พระเจ้าแผ่นดิน ของพวกเขา ไม่เคยทอดทิ้งคำมั่นสัญญานั้น
“พระเจ้าแผ่นดิน” เปิดบันทึกปรากฏการณ์บนแผ่นดินไทยเมื่อ 60 ปีที่ผ่านมา เพื่อเป็นที่ประจักษ์ว่า ท่ามกลางปัญหาและพัฒนาการของบ้านเมืองในทุกๆด้านนั้น ล้วนได้รับพลังขับเคลื่อนจากการทรงงานอย่างไม่เคยเหนื่อยล้า ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
นับแต่แรกเริ่มที่ทรงรับพระราชภาระแห่งพระฐานะพระประมุขของประเทศ ทรงย่างพระบาทไปทั่วทุกตารางนิ้วของประเทศ เพื่อทำความรู้จักกับแผ่นดินและราษฎรของพระองค์อย่างแท้จริง
ทุกปัญหาที่ทรงพบเห็นถูกนำมาขบคิด ค้นคว้า ทดลอง และทรงสร้างเป็นโครงการตัวอย่างเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนให้ราษฎรโดยทั่วหล้า ทุกภูมิภาคของประเทศ

เป็นความโชคดีของคนไทยทั้งแผ่นดินที่มีพระมหากษัตริย์ ผู้ทรงเป็นมากกว่าพ่อแห่งแผ่นดินมีพระมหากรุณาธิคุณต่อพสกนิกรปวงชนชาวไทยอย่างล้นเหลือ มาทุกยุคทุกสมัย





5 ความคิดเห็น:

Sassy Mam กล่าวว่า...

good start ja pls keep writing na ja we will fully supporting you ja
Love :)
SassyMam

Warintirak กล่าวว่า...

ขอบคุณมากค่ะพี่แหม่ม

Sassy Mam กล่าวว่า...

คำกล่าว ถึงพระองค์มีต่างกัน เมื่อได้อ่านก็รู้สึกถึงได้ว่า ทำให้ความรู้สึกต่างกัน และ เมื่อนึกถึง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุยเดช ที่ คนไทยทั้งชาติ พร้อมใจ ที่จะของ ให้พระองค์ เป็น "พ่อ" ในศักราชที่มีคนอยู่ เกือบ 70 ล้านคน แต่ความเห็นพร้องกันนี้ กลับไปสอดคล้องต้องกันกับเมือสมัยสุโขทัยตอนต้น ที่พระเจ้าแผ่นดิน ได้รับการขนานนามว่า "พ่อ" นำหน้าทุกพระองค์...

lekakata กล่าวว่า...

ขอบคุณมากที่นำแต่สิ่งที่ดีๆมาเสนอ

นางสาวเบญจพร กาญจนาภรณ์ กล่าวว่า...

อ่านแล้ว ชอบมากค่ะ