ในความวกวนของสังคม ทุกๆ สังคม ในความซับซ้อนของหมู่คน ในแต่ละกลุ่มคน
มีอะไรมากมายให้เรียนรู้ และกลับมาทบทวน บางครั้งเสียใจ
ลงโทษตัวเอง
บางครั้งหลงทางโทษคนโน้น คนนี้
บางทีพิจารณาว่าเขาผิด
ทั้งที่เราเองก็ผิดหลงไปพิจาณาเขาอยู่ได้
สิ่งหนึ่งที่เคยจำและนำไปเตือนสติเพื่อนร่วมงาน ที่เคยทำงานจิตอาสาด้วยกัน..เตือนสติตัวเอง
เตือนสติกลุ่มของเรา ช่วยเตือนกันและกัน เพราะเราต้องการให้งานผ่านไปอย่างราบรื่นภายใต้ความถูกต้อง
ซื่อตรงและเป็นธรรมกับทุกๆฝ่าย นั่นก็คือ ทศพิธราชธรรม
ทศพิธราชธรรม คือ จริยวัตร 10 ประการ ที่พระเจ้าแผ่นดินทรงประพฤติเป็นหลักธรรม ประจำพระองค์
หรือเป็นคุณธรรมประจำพระองค์ของผู้ปกครองบ้านเมืองมาสืบมาทุกกาลสมัย
เพื่อให้เป็นไปโดยธรรมและประโยชน์สุขให้เกิดแก่ประชาชนจนเกิดความชื่นชมยินดี
ดังที่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงมีพระจริยาวัตรปฏิบัติยึดมั่นอย่างเคร่งครัดเสมอมา
ดังปณิธานที่พระราชทานเป็นปฐมราชโองการ ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ความว่า
"เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม"
ซึ่งความจริงแล้ว
ทศพิธราชธรรม ไม่ได้จำเพาะเจาะจงสำหรับพระเจ้าแผ่นดินเท่านั้น
บุคคลธรรมดาที่เป็นผู้บริหารระดับสูงในทุกองค์กรก็พึงใช้หลักธรรมเหล่านี้ได้เช่นกัน
ทศพิธราชธรรม
- ทาน หมายถึงการให้ การเสียสละ นอกจากเสียสละทรัพย์สิ่งของแล้ว ยังหมายถึงการให้น้ำใจแก่ผู้อื่นด้วย
- ศีล คือความประพฤติที่ดีงาม ทั้งกาย วาจา ใจ ให้ปราศจากโทษ ทั้งในการปกครอง อันได้แก่ กฎหมายและนิติราชประเพณี และในทางศาสนา
- บริจาค ((ปาริจจาคะ) คือการเสียสละความสุขส่วนตน เพื่อความสุขส่วนรวม
- ความซื่อตรง (อาชชวะ) คือ ความซื่อตรงในฐานะที่เป็นผู้ปกครอง ดำรงอยู่ในสัตย์สุจริต
- ความอ่อนโยน (มัททวะ) คือ ความอ่อนโยน มีสัมมาคารวะต่อผู้อาวุโสและอ่อนโยนต่อบุคคลที่เสมอกันและต่ำกว่า
- ความเพียร (ตปะ)คือ มีความอุตสาหะในการปฏิบัติงาน โดยปราศจากความเกียจคร้าน
- ความไม่โกรธ(อักโกธะ) คือ ความไม่แสดงความโกรธให้ปรากฏเห็นเช่น ทำร้ายผู้อื่นแม้จะลงโทษผู้ทำผิดก็ทำตามเหตุผล
- ความไม่เบียดเบียน (((((((((((อวิหิงสา)คือ การไม่เบียดเบียน หรือบีบคั้น ไม่ก่อทุกข์ หรือเบียดเบียนผู้อื่น
- ความอดทน(ขันติ) คือ การมีความอดทนต่อสิ่งทั้งปวง รักษาอาการ กาย วาจา ใจ ให้เรียบร้อย
- ความเที่ยงธรรม (อวิโรธนะ)คือ ความหนักแน่น ถือความถูกต้องเที่ยงธรรมเป็นหลัก ไม่เอนเอียงหวั่นไหวด้วยคำพูด อารมณ์ หรือลาภสักการะใดๆ
หลักปฏิบัติทั้ง ๑๐ ประการ อาจยุ่งยากหรือสลับซับซ้อนจนปฏิบัติไม่ได้สำหรับบางคน
แต่ผู้คนส่วนหนึ่งในสังคมปัจจุบัน
มีความแนวคิดและประพฤติ ปฏิบัติ ลึกลับซับซ้อน
เกินกว่าจะหยั่งถึงเพียงเพื่อให้ตัวเองสมประโยชน์ มากกว่าอีกหลายร้อยเท่า
หากองค์กรใด หรือสังคมใด มีผู้บริหารทุกระดับ ประพฤติ ปฏิบัติได้ดังนี้
คงเป็นบุญกุศลขององค์กรนั้นโดยแท้ทีเดียว..
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น