ถ้าเรามีโอกาสผ่านไปเทเวศน์และผ่านหน้าหอสมุดแห่งชาติ
ฝั่งตรงข้ามเราจะสังเกตเห็นคนกลุ่มหนึ่ง
แต่งกายอย่างสมถะ ใส่เสื้อคอกลมสีขาว บางครั้งใส่ขาสั้น บางครั้งขายาว ตัดผมเกรียนสั้นเรียบร้อย
เดินเรียงแถวอยู่ภายในบริเวณรั้วที่มีป้ายบอกว่า..โรงเรียนพระดาบส
หลายๆครั้งที่นั่งรถผ่านผู้เขียนมักมองผ่านเข้าไปเสมอและได้แต่เก็บความสงสัยอยู่ในใจ
แม้จากภาพที่เห็นทำให้พอเข้าใจเลาๆต้องเกี่ยวกับการศึกษาแน่ๆ
แต่จะเป็นการศึกษาแนวไหน แบบใด ก็ให้สงสัยทุกครั้งที่ผ่านไปเจอ
วันนี้พอจะนึกขึ้นมาได้ก็ลองค้นหาข้อมูลให้หายสงสัย
มูลนิธิพระดาบส เกิดจากแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯซึ่งมีความห่วงใยบุคคลที่ไม่มีพื้นฐานการศึกษา และไม่มีทุนทรัพย์เพียงพอจะศึกษาต่อ และทรงประสงค์ให้คนเหล่านี้มีโอกาสได้ศึกษาวิชาชีพที่เขาปรารถนาเพื่อเป็นประโยชน์ของสังคมและประเทศชาติต่อไป
ดังนั้น จึงนำเอาวิธีการประสิทธิ์ประสาทวิชาการ ของพระดาบสมาประยุกต์ใช้
โดยจัดเป็นรูปการศึกษานอกระบบ
นอกจากจะช่วยให้ผู้มาฝากตัวเป็นลูกศิษย์ได้ความรู้เป็นวิชาชีพแล้ว
ยังช่วยให้ผู้นั้นเป็นผู้ที่มีศีลธรรมจรรยา มีน้ำใจ
ซึ่งจะเป็นการช่วยเหลือแก้ไขปัญหาสังคมส่วนรวมได้ผลยิ่งขึ้น
แต่ปัจจุบันนี้ ป่าธรรมชาติที่เป็นที่พำนักอาศัยของพระดาบสนั้นนับว่าจะน้อยลงไป
จึงจำเป็นต้องใช้ป่าคอนกรีต เป็นที่ตั้งสำนักพระดาบสแทน
แนวกระแสพระราชดำริ ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานให้
พลตำรวจตรี สุชาติ เผือกสกนธ์ รับไปดำเนินการทดลองเปิดอบรมวิชาช่างไฟฟ้า-วิทยุขึ้นก่อน
โดยใช้สถานที่ของสำนักพระราชวัง ถนนสามเสน ตรงข้ามหอสมุดแห่งชาติ ท่าวาสุกรี
เปิดรับบุคคลที่มีความตั้งใจจริงที่จะหาความรู้ใส่ตน ไม่จำกัดเพศ อายุ และความรู้
รวมทั้งข้าราชการ ทหาร ตำรวจ พลเรือน ที่ผ่านศึก และทุพพลภาพได้เข้าเรียน
สำหรับครูหรือพระดาบสอาสาสมัครนั้น จะเป็นผู้มีความรู้
ความศรัทธาอาสาสมัครโดยเสด็จพระราชกุศล และมีคุณลักษณะพิเศษ
คือ มีความยินดีเสียสละให้ความรู้ของตนเป็นวิทยาทาน โดยไม่หวังผลตอบแทนใดๆ ทั้งสิ้น
โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ สนับสนุนโครงการพระดาบส ตั้งแต่ต้นตลอดมา
โครงการพระดาบสนี้ได้เริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2518 จนถึงปัจจุบัน โรงเรียนผู้ใหญ่พระดาบสได้ทำการสอนวิชาชีพ แขนงต่างๆ ไปแล้ว ได้แก่ หลักสูตรเตรียมช่าง หลักสูตรช่างไฟฟ้าการกำลัง หลักสูตรช่างประปาภายในอาคาร และช่างเครื่องสุขภัณฑ์ และหลักสูตรพนักงาน ขับรถ
เมื่อปี พ.ศ. 2533 ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้โรงเรียนช่างฝีมือมักกะสัน การ รถไฟแห่งประเทศไทย
เปลี่ยนชื่อเป็น โรงเรียนช่างฝีมือพระดาบส การรถไฟแห่งประเทศไทย โดยจะทำการฝึกอบรมบุตร หลานของพนักงานรถไฟให้เป็นช่างฝีมือเจริญรอยตามแนวกระแสพระราชดำริเกี่ยวกับ
โครงการพระดาบส โรงเรียนนี้ได้
การบริการตรวจซ่อม ได้เปิดให้บริการเป็นรูปสหกรณ์ ตรวจซ่อมเครื่องไฟฟ้า ได้แก่ ตู้เย็น เครื่องปรับอากาศ พัดลม เตารีดไฟฟ้า เครื่องรับวิทยุ เครื่องรับโทรทัศน์สีและขาวดำ เครื่องขยายเสียง เครื่องวิดิโอเทป งานติดตั้งไฟฟ้าภายในอาคาร งานซ่อมเครื่องยนต์ งานซ่อมรถยนต์ ช่างโลหะ งานเชื่อม งานเคาะและพ่นสี ฯลฯ เพื่อเพิ่มพูนความรู้ ความชำนาญ และ ประสบการณ์ในการทำงานกับเพิ่มรายได้ให้แก่ผู้เข้ารับการฝึกอบรมภายใต้ความดูแลของ พระดาบสอาจารย์โดยใกล้ชิด ปรากฏว่าได้ผลสมความมุ่งหมาย
ในปี พ.ศ. 2537 ได้มีบุคคลภายนอกสนใจใช้บริการดังกล่าวมาก
เงินรายได้นี้เมื่อหักค่าใช้จ่ายแล้ว ได้จัดสรรให้กับผู้เข้ารับการฝึกอบรมเฉลี่ยตามแรงงาน เงิน จำนวนนี้ทางมูลนิธิฯ ได้เก็บรวบรวมไว้และจ่ายให้ผู้ได้รับประโยชน์เมื่อเสร็จสิ้นการศึกษา
เพื่อให้เป็นทุนรอนในการ ประกอบอาชีพตั้งตัวต่อไป
ตอนนี้หมดข้อกังขาใดๆ
ครั้งต่อไปถ้ามีโอกาสผ่านไปแถวนั้นอีก ผู้เขียนคงเลิกชะเง้อ เลิกเป็นคนขี้สงสัยเสียที
พสกนิกรในพระองค์ภูมิพล เป็นบุคคลสำคัญดุจลูกๆเสมอ
พระองค์ทรงช่วยเหลือโดยไม่เลือกชั้นหรือฐานะ ยิ่งด้อยโอกาสพระองค์ก็ทรงมีพระราชดำริช่วยเหลือ และทรงติดตามการแก้ไขปัญหาอย่างใกล้ชิด เพื่อให้ประชาชนได้รับประโยชน์ความเป็นธรรมสูงสุด
ขอบคุณข้อมูล
มูลนิธิพระดาบส
ภาพจาก
1 ความคิดเห็น:
สิ่งที่พระองค์ไม่ว่าประชาชนของพระองค์จะเป็นใครทุกคนจะอยู่ในสายพระเนตร
LONG LIVE THE KING
แสดงความคิดเห็น