สำเนียงส่อภาษา กิริยาส่อสกุล
สำนวนไทยที่เราเคยได้ยินมาตั้งแต่เด็กๆ
หากจะวิเคราะห์ความหมายของ “สำเนียงส่อภาษา กิริยาส่อสกุล” ในการอรรถาธิบาย จำเป็นจะต้องแปลความหมายของแต่ละ “อรรถ” เสียก่อน
สำเนียง น. เสียง, น้ำเสียง, หางเสียง, วิธีออกเสียง
ส่อ ก. แสดงออกมาให้เห็นเค้า
ภาษา น. เสียงสัญลักษณ์หรือกิริยาอาการที่ใช้สื่อความต่อกัน, คำพูด, ถ้อยคำที่ใช้พูดกัน
กิริยา น. การกระทำ; อาการที่แสดงออกทางกายตามความหมายเรื่องมารยาท
สกุล น. ตระกูล, วงศ์, เชื้อสาย, เผ่าพันธุ์
เมื่อพิจารณาความหมายของ “อรรถ” และรวมความเป็นสำนวนแล้ว ก็น่าที่จะตีความได้ว่าหมายถึง “บุคลิก การกระทำและมารยาทจะแสดงออกมาให้ทราบว่ามาจากชาติตระกูลเช่นไร” สำนวนนี้แสดงให้เห็นถึงความสำคัญของการมีมารยาท (กิริยาวาจาที่เรียบร้อย) เพราะสิ่งนี้จะสะท้อนไปถึง กำพืดของผู้นั้นได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการพูด ซึ่งสามารถบ่งบอกระดับปัญญาของผู้นั้นได้ ดังที่มีคำกล่าวไว้ว่า “เมื่อไม่พูดก็ไม่รู้ว่าโง่หรือฉลาด
ผู้เขียนนึกถึงสำนวนนี้เพราะ เมื่อสองสามวันก่อนนี้ มีโอกาสได้พูดคุยกับ "น้องเพ็ญ"
เด็กสาววัยรุ่นคนหนึ่ง คุยกันหลายครั้งแต่เพียงผิวเผินจนเมื่อมีเวลาได้คุยกันจริงๆจังๆหลังจากฟังจากภาษาแปร่งๆ คำบางคำเพี้ยนๆ อย่างเช่น นั่งแท๊กซี่..เธอบอกว่า "ขี่แท๊กซี่" และข้ามถนน เธอออกเสียงเป็น"คว่ำถนน "ผู้เขียนได้แต่สงสัยจึงถามว่ามาจากจังหวัดอะไร เธอมองหน้าและยิ้มแบบคนอารมณ์ดี และยิ้มแย้มแจ่มใสอยู่เสมอตอบอย่างภาคภูมิใจว่า "ประเทศลาว พี่เชื่อไหม?"
ผู้เขียนก็ยิ้มตอบและพยักหน้าว่า..เชื่อ และถามต่อว่าอยู่จังหวัดอะไร เช่นถ้าเมืองไทยเรียกอำเภอหรือจังหวัด เธอตอบว่า ประเทศลาว เรียก เมืองหรือแขวง เธอตอบชื่อเมืองแต่ผู้เขียนก็ไม่จำ
ผู้เขียนถามว่าอายุเท่าไหร่ มาอยู่เมืองไทยนานไหม และทำอะไร?
ไม่น่าเชื่อ..อายุเพียง 18 ปี แต่มองจากการคิด พูดและทำน่าจะมีวุฒิภาวะมากกว่านั้น เพราะฉันเฝ้ามองการทำงานและแอบชื่นชมอยู่ในใจ เธอรับผิดชอบและกระตือรือร้น จนนายจ้างแทบไม่ต้องห่วง แม้ต้องทำงานทั้งวันทั้งคืนก็ไม่บ่น ไม่อิดออด ไม่แชเชือน ให้เป็นที่ขัดข้องใจ
เธอถามผู้เขียนว่าเคยไปประเทศลาวไหม เคยฟังจากคนไทยหลายคนแล้ว ชอบไปประเทศลาว ชอบอยู่ประเทศลาว แต่เธอไม่ชอบคนไทยไปอยู่ประเทศลาวเยอะๆ เพราะกลัวประเทศลาวลุกเป็นไฟ และประเทศไทยจะกลายเป็นน้ำ
ผู้เขียนได้ฟังแบบนี้แล้วรู้สึกอึ้งอยู่ในใจ ถามเธอว่ารู้เรื่องความวุ่นวายในเมืองไทยด้วยหรือ?
เธอยิ้มและตอบอย่างมั่นใจว่า รู้สิพี่ คนลาวอาจรู้เรื่องเมืองไทยมากกว่าคนไทย
ผู้เขียนถามอีกว่า รู้จักพระเจ้าอยู่หัวไหม? เธอส่ายหน้าบอกว่าไม่รู้จัก จึงถามต่ออีกว่าแล้วรู้จัก
"ในหลวง" ไหม?
คราวนี้เธอยิ้มและตอบว่า อ๋อ..ในหลวง รู้จักสิ
บ้านหนูทำนา บ้านหนูมีแต่ทุ่งนา มีป่าเยอะ ที่จริงหนูไม่ชอบกรุงเทพฯหรอก แต่ต้องมาทำงานเก็บเงินส่งให้แม่เยอะๆและ หนูจะกลับไปทำนา
ในหลวงสอนคนไทยทำเกษตรแบบพอเพียง แต่คนไทยใช้ชีวิตเกินตัว
วับรุ่นไทยนิยมฝรั่งและเกาหลี จนเดี่ยวนี้วัยรุ่นประเทศลาวซึ่งดูทีวีจากประเทศไทย ก็เริ่มนุ่งสั้นเอาอย่างวัยรุ่นประเทศไทย หนูไม่ชอบเลย
นี่คือความคิดของวัยรุ่นต่างด้าวจากประเทศลาว ที่มองคนไทยและมองประเทศไทย
คงไม่ต้องถามเด็กๆ วัยรุ่น เยาวชนผู้ลุ่มหลงภาพมายาจากการมอมเมาของสื่อสารมวลชนแขนงต่างๆ
เพราะเด็กๆเหล่านั้นคงไม่สามารถมองเห็นอะไรนอกจากภาพพระเอก นางเอก นักร้องชาวเกาหลี หรือการขึ้นเวทีประกวดประชันความเก่งกล้าเกินวัยบนเวทีต่างๆ อย่างเช่นที่เด็กสาวชาวลาวคนนี้เห็น
คิดและพูดออกมา
บ่อยครั้งที่มองเห็นพ่อแม่ของเด็กๆใช้ชีวิตแบบเรียบง่าย สมถะ
แต่ลูกๆวัยรุ่นของพวกเขาหลุดเข้าไปอยู่อีกโลกที่ตรงข้ามกับพ่อแม่
เช่นนี้แล้วเราต้องโทษใครดี หรือสถาบันครอบครัวไม่มีความหมาย และต้องปล่อยเด็กๆ เยาวชนหลงระเริงไปตามยุคตามสมัย
ขอบคุณ
ข้อมูล..สำเนียงส่อภาษา กริยาส่อสกุล
ภาพนักเรียนประเทศลาว
ภาพวัยรุ่นไทย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น