วันอาทิตย์ที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2554

น้ำคือ(ส่วนเกินของ)ชีวิต


น้ำท่วมภาคกลางมาเป็นระยะเวลานานร่วมเดือน
ประชาชนต้องเดือดร้อน อพยพคน สัตว์เลี้ยงและสิ่งของออกจากบ้านที่อยู่อาศัย
ด้วยความเป็นห่วงพี่น้องคนไทยผู้เขียนติดตามข่าวจากโทรทัศน์เท่าที่มีเวลาและรู้สึกเครียด อึดอัดในใจซึ่งอยากไปมีส่วนร่วมในการช่วยเหลือ ณ จุดที่ต้องการบ้างแต่มิอจทำได้ในตอนนี้

 บางคนอพยพสิ่งของมีค่าที่อุตส่าห์ทำงานมาทั้งชีวิตเพื่อสร้าง เพื่อมี ไม่ทัน ต้องเสียไปกับสายน้ำที่มิอาจปิดกั้นไว้ได้ บ้างก็ทำใจได้ บ้างก็ทำใจไม่ได้
บางคนบอกว่าสิ่งมีค่าที่สุดในชีวิตที่อยู่ในบ้านคือ ภรรยาและบุตร
เมื่อเอาพวกเขาออกมาได้ เท่ากับเขาไม่เสียอะไรเลย

ส่วนหน่วยงานที่ให้ความช่วยเหลือเช่น ประชาชนและองค์กรต่างๆทั้งภาครัฐและหน่วยงานของเอกชนโดยเฉพาะทหาร ก็ยังคงมุ่งมั่นกับการช่วยเหลือตามจุดต่างๆ รอบๆกรุงเทพฯเพื่อสะกัดกั้นการดินทางของน้ำอย่งเต็มกำลังความสามารถทั้งยังต้องเฝ้าระวังบ้านของตัวเองไปด้วยเช่นกัน

และในขณะเดียวกันหนุ่มสาวอีกกลุ่มหนึ่งก็เช่นเดียวกัน ได้มุ่งมั่นให้ความช่วยเหลือโดยมิรู้จักเหน็ดเหนื่อย หรือแม้เหนื่อย เจ็บปวดกับการออกแรงจับสิ่ง(กระสอบทราย)ที่เธอและเขาไม่เคยทำ พวกเขาก็ยังคงสนุก มีความสุขที่ได้ทำอย่างเช่นหนุ่มสาวกลุ่ม"รักพ่อภาคปฏิบัติ"  เมื่อมีเวลาก็คอยติดตามข่าวคราวการทำงานของเขา และได้เห็นความเคลื่อนไหวทุกๆวัน เขาไม่เคยหยุดพัก แทบไม่ได้หลับได้นอน พวกเขากำลังทำหน้าที่"ปกป้องศิริราช" เพราะนอกจาก "ศิริรราช" เป็นโรงพยาบาล ศิริราชยังเป็นที่ "ประทับของพ่อหลวง พ่อของปวงประชา พ่อผู้เฝ้าห่วงใยไพร่ฟ้าตลอดเวลา"


น้องหน่อยกำลังสำคัญอีกคนของกลุ่ม"รักพ่อภาคปฏิบัติ"
จุดประสงค์ของภาระกิจพิทักษ์ ศิริราช
1. เฝ้าระวังไม่ให้ผนังกั้นน้ำเกิดการเสียหาย
2. ทรัพย์สินที่ต้องเฝ้าระวังคือ เครื่องปั่นไฟ ตู้คอนโทรลไฟ เครื่องฉายรังสี เเละเครื่องมือเครื่องใช้ของโรงพยาบาลที่มีมูลค่านับพันล้าน เงินทั้งหมดมาจากภาษีของประชาชน
3. ทรัพย์สินตามข้อ 2 นั้นเมื่อเกิดการเสียหายจะมีผลต่อการดูเเลคนไข้ทันที
4. ภาระกิจที่ทำเพื่อในหลวงนี้ คือการป้องกันไม่ให้เกิดการโกลาหลในศิริราช
ยกตัวอย่างกรณีไฟดับ ไฟช๊อต
ไม่ใช่การป้องกันความปลอดภัยของพระองค์โดยตรง ไม่ใช่อย่างนั้นนะคะ
ขอให้ทำความเข้าใจให้ถ่องแท้ค่ะ
(ขอบคุณภาพคุณพินิจ อัศวานุชิต)
ผู้เขียนขอเป็นกำลังใจให้น้องๆเพื่อนๆและทุกคนที่ร่วมด้วยกัน
น้ำในประเทศไทย ขาดความสมดุล ยามแล้งก็แล้งเหลือเกิน ยามน้ำล้นก็เกินแผ่นดินจะรับได้ทัน

พ่อหลวงทรงมีสายพระเนตรที่ยาวไกล จึงมีพระราชดำริ โครงการแก้ปัญหาน้ำและรักษาป่าเพื่อให้พสกนิกรไม่เดือดร้อนในเรื่องการอยู่และทำมาหากิน มากมายหลายโครงการ

กรมอุตุนิยมวิทยาประกาศว่ามีฝนตกมากในช่วงนี้ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคใต้ให้ระวังน้ำท่วม ผู้เขียนเริ่มวิตกหลังจากเห็นปรากฎการณ์น้ำที่กำลังกระจายตัวเข้าส่วนกลางของกรุงเทพฯ
และคร้งแรกที่ผู้เขียนอยู่บ้านตัวเองในช่วงฤดูฝน ได้ยินหลายๆคนที่บ้านพูดถึงเรื่องน้ำท่วมว่าได้เตรียมอาหาร และหาที่เก็บของกันแล้ว ดูพวกเขาไม่ตระหนกตกใจ เขาบอกว่าเป็นเรื่องธรรมดา น้ำท่วมทุกปีอยู่แล้ว จะท่วมมากท่วมน้อยเท่านั้นเอง (แต่ผู้เขียนนึกไม่ออกจริงๆว่าจะปรุงอาหารกินกันอย่างไร)

สำหรับองค์กร หรือหน่วยงานใหญ่ๆ นั้น ก็ควรที่จะคิดหาทางหาวิธีรักษาน้ำอย่างถูกวิธีและถูกจุด นั่นคือ จะต้องหาทางรักษาจุดกำเนิดของน้ำก่อนเป็นอันดับแรก คือ ให้ความสำคัญกับต้นไม้และป่าเขา เพราะหากต้นน้ำถูกทำลายลง สายธารที่เคยมีก็คงจะหดหายไปด้วย ควรหาทางหยุดยั้งการตัดไม้ทำลายป่า


ดังพระราชดำรัสของสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เมื่อวันที่ 12 สิงหาคม 2550 ว่า
                        "... ข้าพเจ้าขอร้องเรื่องการตัดป่า ได้ขอร้องท่านนายกฯ ไปแล้วว่า มีกฎหมายใด มีวิธีใด ที่จะรักษาป่า เพราะว่า ไม้แต่ละต้น ถ้าเป็นพันธุ์ไม้ใหญ่จะเก็บน้ำจืดไว้จำนวนมากมาย และปล่อยออกมาเป็นลำธาร และปล่อยออกมาเป็นแม่น้ำ และอีกอย่างที่ข้าพเจ้าอยากจะขอร้องพวกท่าน เพราะข้าพเจ้าเป็นพระราชินีมาตั้งแต่อายุ 17 กว่าๆ ก่อน 18 ไม่กี่เดือน จนถึง 75 ยังขอร้องอะไรไม่เคยสำเร็จสักอย่าง ไม่มีผลอะไรเลย เรื่องต้นไม้เนี่ย เต้นอยู่ตลอด ก็ไม่มีผลสำเร็จ แอบตัดทางการก็ไม่มีกฎหมายอะไร หรือมาตรการที่จะดูแลรักษาป่าเพื่อเก็บน้ำจืดไว้..."

ถ้าหากทุกองค์กรและประชาชนทุกส่วนที่เกียวข้องได้ตระหนักถึงส่วนรวม
และปฎิบัติดังที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯและสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ทรงพระราชดำรัสด้วยความห่วงใยอย่างสม่ำเสมอแล้ว ประเทศไทยคงไม่เดือดร้อนและเสียหายเนื่องจาก

น้ำแล้งหรือน้ำเกินความจำเป็นมากมายทุกๆปีเช่นในวันนี้

ขอบคุณข้อมูลอ้างอิงจาก
http://www.chaipat.or.th/chaipat/index.php/th/interesting-article/328
และขอบคุณภาพสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิต์จาก
http://mblog.manager.co.th/chaba2550/th-101920/

ไม่มีความคิดเห็น: