เนื่องในวโรกาส วันพ่อแห่งชาติ วันที่ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔
ผู้เขียนแผ่นดินนี้เราจองขอร่วมเผยแพร่พระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลเนื่องในวันคล้ายวันพระราชสมภพแด่องค์ภูมิพล อดุลยเดช
พระราชปณิธานสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์บรมราชินีนาถฯ
พระเจ้าอยู่หัวฯเป็นน้ำฉันจะเป็นป่า
ป่าที่ถวายความจงรักภักดีต่อน้ำ
พระเจ้าอยู่หัวสร้างอ่างเก็บน้ำ ฉันจะสร้างป่า
**************************************************************
“... วันนี้ก็ขอพูดขออนุญาตที่จะพูด เพราะว่าอั้นมาหลายปีแล้ว เคยพูดมาหลาย ปีแล้ว ในวิธีที่จะปฏิบัติเพื่อที่จะให้มีทรัพยากรน้ำเพียงพอและเหมาะสม คำว่า “พอเพียง” ก็หมายความว่า ให้มีพอในการบริโภคในการใช้ ทั้งในด้านการบริโภคในบ้าน ทั้งในการใช้ เพื่อการเกษตรกรรม อุตสาหกรรมต้องมีพอ ถ้าไม่มีทุกสิ่งทุกอย่างก็ชะงักลง แล้วทุกสิ่ง ทุกอย่างที่เราภาคภูมิใจ ว่าประเทศเราก้าวหน้าเจริญก็ชะงัก ไม่มีทางที่จะมีความเจริญ ถ้าไม่มีน้ำ ...
...โครงการที่คิดจะทำนี้ บอกได้้ว่าไม่กล้าพูดมาหลายปีแล้ว เพราะเกรงว่าจะมี การคัดค้านจากผู้เชี่ยวชาญ ทั้งเหล่านักต่อต้านโครงการ แต่โครงการนี้ เป็นโครงการอยู่ใน วิสัยที่จะทำได้ ไมจะต้องเสียค่าใช้จ่ายไม่น้อย แต่ถ้าดำเนินไปเดี๋ยวนี้ อีก ๕-๖ ปีข้างหน้า เราสบาย และถ้าไม่ทำ อีก ๕-๖ ปี ข้างหน้า ราคาค่าก่อสร้างค่าดำเนินการก็จะขึ้นไป ๒ เท่า ๓ เท่า ลงท้ายก็ต้องประวิงต่อไป และเมื่อประวิงต่อไป ก็จะไม่ได้ทำ เราก็จะต้องอดน้ำ แน่ จะกลายเป็นทะเลทราย แล้วเราจะอพยพไปที่ไหนก็ไม่ได้ ...
... ปัญหาเรื่องภัยแล้งนี้ ดูจะเป็นปัญหาที่แก้ไขไม่ได้ หมู่นี้ก็พูดกันอย่างขวัญเสียว่า อีกหน่อยจะต้องปันส่วนน้ำ หรือแม้แต่จะต้องตัดน้ำประปา อันนี้สำหรับกรุงเทพฯ ฉะนั้น ต้องหาทางแก้ไขเพื่อแก้ไขปัญหานี้ ได้วางแผนมาเป็นเวลาหลายปีแล้ว ถ้าหากว่าได้ปฏิบัติ ตามแผนนั้นๆ แล้ว วันนี้ก็ไม่ต้องพูดถึงการขาดแคลนน้ำ โครงการโดยเฉพาะนั้นก็มี แล้ว โครงการนั้นได้ยืนยันมาเมื่อเดือนที่แล้ว เมื่ออยู่ที่นราธิวาสได้วางโครงการ ที่แม้จะยังไม่แก้ ปัญหาปีนี้หรือปีหน้า แต่ถ้าทำอย่างดี ในประมาณ ๕ หรือ ๖ ปี ปัญหาน้ำขาดแคลนใน กรุงเทพฯ จะหมดไปโดยสิ้นเชิง..."
พระราชดำรัสถึงโครงการกักเก็บน้ำป่าสัก จ.ลพบุรี และ จ.สระบุรี โครงการเขื่อนเก็บน้ำแม่น้ำนครนายก จ.นครนายก โครงการพัฒนาลุ่มน้ำปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช ณ ศาลาดุสิตดาลัย สวนจิตรลดา วันที่ ๔ ธันวาคม ๒๕๓๖
"... เรื่องน้ำนี้ ก็เป็นปัจจัยหลักของมวลมนุษย์ ไม่ใช่มนุษย์เท่านั้น แม้สิ่งมีชีวิตทั้งหลาย ทั้งสัตว์ทั้งพืช ถ้าไม่มีก็อยู่ไม่ได้ เพราะว่าน้ำเป็นสื่อ หรือเป็นปัจจัยสำคัญของสิ่งมีชีวิต แม้สิ่งไม่มีชีวิตก็ต้องการน้ำเหมือนกัน มิฉะนั้นก็จะกลายเป็นอะไรไม่ทราบ เช่น ในวัตุถุต่างๆ ในรูปผลึก ก็ต้อง มีน้ำในนั้นด้วย ถ้าไม่มีน้ำก็จะไม่เป็นผลึก กลายเป็นสิ่งที่ไม่มีรูป ฉะนั้น น้ำนี้ก็เป็นสิ่งสำคัญ ที่กล่าวถึงข้อนี้ก็จะให้ได้ทราบถึงว่า ทำไมการพัฒนา ขั้นแรกหรือสิ่งแรก ที่นึกถึงก็คือโครงการชลประทาน แล้วก็โครงการ สิ่งแวดล้อมทำให้น้ำดี สองอย่างนี้อื่นๆ ก็จะเป็นไปได้ถ้าหากว่า ปัญหา ของน้ำนี้ เราได้สามารถที่จะแก้ไข หรืออย่างน้อยที่สุด ก็ทำให้เรามีน้ำใช้ อย่างเพียงพอ ฉะนั้นการพัฒนานั้นสิ่งสำคัญก็อยู่ตรงนี้ นอกจากนั้น ก็เป็นสิ่งที่ต่อเนื่อง เช่นวิชาการในด้านการเพาะปลูก เป็นต้น ตลอดจนถึง การพัฒนาที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรม หรือการค้า หรือการคลัง อะไร พวกนี้ก็ต่อเนื่องต่อไป... "
พระราชดำรัส วันที่ ๒๙ ธันวาคม ๒๕๓๒ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน
“... การทำฝนเทียมนี้ไม่ใช่เรื่องง่าย จะต้องมีเครื่องอุปกรณ์ วัสดุ และเจ้าหน้าที่ งานที่ทำนี้ก็ต้องส้ินเปลืองไม่ใช่น้อย แต้ถ้าผลที่ได้ คือจะเป็นผลที่น่าพอใจ การทำฝนนี้ เป็นสิ่งที่ลำบากหลายๆ ประการ ทางด้านเทคนิค และในด้านจังหวะที่จะทำ เพราะถ้าพูดถึงด้านเทคนิค ฝนที่ทำนี้ จะพลิกฤดูการไม่ได้ ไม่ใช่ว่าฝนแล้งจะบันดาลได้อย่าง ปาฎิหาริย์ทำให้มีฝนเพียงพอกับการเพาะปลูกมิได้ หรือจะแทนการ ชลประทานที่ขุดเรียบร้อยกว้างขวางก็ไม่ได้ แต่เป็นทางหนึ่งที่มีหวัง สำหรับฤดูกาลที่ควรจะมีฝน และฝนเทียมจะช่วยให้ประคองพืชผล ไม่ให้สิ้นไปพอได้ การทำฝนเทียมนี้เป็นสิ่งที่ใหม่ จึงต้องทำโครงการ อย่างระมัดระวัง เพราะว่าสิ้นเปลือง ถ้าทำแล้วไม่ได้ผลจะสิ้น เปลืองโดยใช่เหตุ...”
พระราชดำริ วันที่ ๒๕ กรกฎาคม ๒๕๑๗ ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน
ให้พิจารณาดำเนินการสร้างฝายราคาประหยัด โดยใช้วัสดุ ราคาถูกและหาง่ายในท้องถิ่น เช่น แบบหินทิ้งคลุมด้วยตาข่าย ช่วยปิดกั้นร่องน้ำกับลำธารขนาดเล็กเป็นระยะๆ เพื่อใช้เก็บกักน้ำ และตะกอนดินไว้บางส่วน โดยน้ำที่เก็บไว้ จะซึมเข้าไปในดิน ทำให้ความชุ่มชื้นแผ่ขยายออกไปทั้งสองข้าง ต่อไปจะสามารถ ปลูกพันธุ์ไม้ท้องถิ่น พันธ์ุไม้โตเร็ว และพันธุ์ไม้ไม่ทิ้งใบ เพื่อ ฟื้นฟูพื้นที่ต้นน้ำลำธารให้มีสภาพเขียวชอุ่มขึ้นเป็นลำดับ...” พระราชดำรัส วันที่ ๒๒ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๓๒ อ.บาเจาพ จ.นคราธิวาส “...ให้ดำเนินการสำรวจทำเลสร้างฝายต้นน้ำลำธารในระดับที่สูง ใกล้บริเวณยอดเขามากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ลักษณะของฝาย ดังกล่าวจำเป็นต้องออกแบบใหม่ เพื่อให้สามารถกักเก็บน้ำ ไว้ได้ปริมาณน้ำหล่อเลี้ยงและประคับประคองกล้าไม้พันธุ์ที่ แข็งแรง และโตเร็วที่ใช้ปลูกแซมในป่าแห้งแล้ง อย่างสม่ำเสมอ โดยการจ่ายน้ำไปรอบๆ ตัวฝายจนสามารถตั้งตัวได้..."
พระราชดำรัส วันที่ ๑ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๒๑ อ.แม่ลาน้อย จ.แม่ฮ่องสอน
“... อาจมีบางคนเข้าใจว่า ทำไมจึงสนใจเรื่องชลประทาน หรือเรื่องป่าไม้ จำได้เมื่ออายุ ๑๐ ขวบ ที่โรงเรียนมีครู ซึ่งเดี๋ยวนี้ตายไปแล่้ว สอนเรื่องวิทยาศาสตร์ เรื่องการอนุรักษ์ดิน แล้วให้เขียนว่าภูเขาต้องมีป่าไม้อย่างนั้น เมื่อเม็ดฝนตกลงมาแล้ว จะชะดินลงมาเร็ว ทำให้ไหลตามน้ำไป ทำความเสียหายดินหมดจากภูเขา เพราะไหลตามสายน้ำไป ก็เป็นหลักของป่าไม้ เรื่องการอนุรักษ์ และเป็นหลักของชลประทาน ที่ว่า ถ้าเราไม่รักษาป่าไม้ข้างบน จะทำให้ เดือดร้อนตลอดทั้งดินบนภูเขาจะหมดไป กระทั่งมีตะกอนลงมาในเขื่อน มีตะกอนลงมาในแม่น้ำ ทำให้น้ำท่วม นี้นะ เรียนมา ตั้งแต่ อายุ ๑๐ ขวบ ..."
พระราชดำรัส เมื่อวันที่ ๒๕ กันยายน พ.ศ.๒๕๑๒
“...สำหรับต้นน้ำ ไม้ที่ขึ้นอยู่บริเวณสองข้างลำห้วย จำเป็นต้องรักษา ไว้ให้ดี เพราะจะช่วยเก็บรักษาความชุ่มชื้นไว้ ส่วนตามร่องน้ำและบริเวณที่น้ำซับ ก็ควรสร้างฝายขนาดเล็ก กั้นน้ำไว้ในลักษณะฝายชุ่มชื้น แม้จะมีจำนวนน้อยก็ตาม สำหรับแหล่งน้ำ ที่มีปริมาณน้ำมาก จึงสร้างฝายเพื่อผันน้ำ ลงมาใช้ในพื้นที่เพาะปลูก...” “... ควรสร้างฝายต้นน้ำลำธารตามร่องน้ำ เพื่อช่่วยชะลอกระแสน้ำ และกักเก็บน้ำ สำหรับสร้างความชุ่มชื้นให้กับบริเวณต้นน้ำ...”
พระราชดำรัส เมื่อวันที่ ๑๑ มีนาคม พ.ศ.๒๕๓๒ ณ ดอยอ่างขาง เชียงใหม่
“หลักสําคัญ ว่าต้องมีน้ำบริโภค น้ำใช้ น้ำเพื่อการเพาะปลูก เพราะว่าชีวิตอยู่ที่นั่น
ถ้ามีน้ำคนอยู่ได้ ถ้าไม่มีน้ำคนอยู่ไม่ได้ ไม่มีไฟคนอยู่ได้ แต่ถ้ามีไฟฟ้าไม่มีน้ำคนอยู่ไม่ได้”
ถ้ามีน้ำคนอยู่ได้ ถ้าไม่มีน้ำคนอยู่ไม่ได้ ไม่มีไฟคนอยู่ได้ แต่ถ้ามีไฟฟ้าไม่มีน้ำคนอยู่ไม่ได้”
กระแสพระราชดํารัสนี้ พระราชทานไว้เมื่อวันที่ ๑๗ มีนาคม ๒๕๒๙
ณ พระตําหนักจิตรลดารโหฐาน
ณ พระตําหนักจิตรลดารโหฐาน
ขอบคุณข้อมูลจาก
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น